ฉลากยาหมายความว่าอย่างไรและเอกสารกำกับยาหมายความว่าอย่างไร


ฉลากยา (Drug label) เป็นเอกสารระบุรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

           -ชื่อยา ทั้งชื่อการค้า และชื่อยาสามัญ (อ่านเพิ่มเติมในเว็บhaamor.com บทความเรื่อง ประเภทยา: ชื่อสามัญและยาต้นแบบ และเรื่อง ยาต้นแบบ ยาสามัญ) พร้อมทั้งปริมาณตัวยาต่อหน่วย เช่น มิลลิกรัม/เม็ด มิลลิกรัม/ช้อนชา เป็นต้น

           -สรรพคุณที่ใช้รักษาโรค

           -ขนาดและวิธีใช้/ขนาดรับประทานของเด็ก ผู้ใหญ่

           -บริษัทผู้ผลิต พร้อมที่อยู่

           -ประเภทของยาว่าเป็นประเภทอะไร เช่น ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ ยาเสพติดให้โทษ วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภท 1, 2, 3 หรือ 4 หรือยาสามัญประจำบ้าน

            -เลขที่ผลิต วันที่ผลิต วันหมดอายุ

           -เลขที่ทะเบียนยาที่กระทรวงสาธารณสุขรับรองอนุญาต

เอกสารกำกับยา 

            เอกสารกำกับยา (Patient information leaflet) เป็นเอกสารระบุรายละเอียดต่างๆของยา โดยจะมีข้อมูลเกี่ยวกับยาในเชิงลึกมากกว่าฉลากยา ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเชิงวิชาการ โดย ทั่วไปเอกสารกำกับยาจะประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้

           -ชื่อยาที่เป็นชื่อการค้า โดยใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ

            -สูตรยา ที่แจกแจงรายละเอียดของชื่อสามัญ (ชื่อจริงของยา) ของตัวยาสำคัญ โดยระบุน้ำหนักต่อหน่วย เช่น 500 มิลลิกรัม/เม็ด 125 มิลลิกรัม/ช้อนชา

                         -ลักษณะยา โดยบ่งบอกเป็นยาน้ำ ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาฉีด ยาผง ยาครีม ยาขี้ผึ้ง ฯลฯ และบ่งบอกสี กลิ่น รส เคลือบฟิล์ม เคลือบน้ำตาล ซึ่งเป็นลักษณะประจำตัวของยานั้นๆ

                        -คุณสมบัติในการรักษาโรค โดยระบุรายละเอียด และกลไกของยาที่ออกฤทธิ์ในการรักษาโรค มักใช้คำศัพท์วิชาการมาบรรยายเนื้อหา จึงเป็นการยากที่จะทำความเข้าใจ

                         -ขนาดวิธีใช้ วิธีรับประทาน ตามน้ำหนัก อายุ ลักษณะความเจ็บป่วย โดยจะมีระยะเวลาของการใช้ยากำกับมาด้วย
ข้อห้ามใช้ เป็นการระบุการห้ามใช้ยากับผู้ที่แพ้ยาหรือผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังบางอย่าง ซึ่งเมื่อใช้ยานั้นๆอาจทำให้เกิดอันตรายได้

                          -คำเตือนและข้อควรระวัง เป็นการระบุและเฝ้าระวังก่อนใช้ยา โดยมักระบุถึงความน่าจะเป็น หรืออาจเกิดโทษต่อระบบต่างๆของร่างกาย เช่น ต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด ต่อทารกในครรภ์ ต่อเด็กที่ต้องดื่มนมแม่ ฯลฯ หากผู้บริโภคทำความเข้าใจ ก็จะเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้การใช้ยามีความปลอดภัยมากขึ้น

                         -ผลข้างเคียงของการใช้ยา ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลังการใช้ยานั้นๆ โดยแสดงอาการที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆต่อร่างกาย ผลข้างเคียงของยาอาจจะเกิดหรือไม่เกิดกับใครคนใดคนหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้น อยู่กับการตอบสนองของร่างกายของแต่ละคนไป อีกทั้งยังขึ้นกับระดับหรือปริมาณยาที่ได้รับเข้าไปด้วย

                       -ปฏิกิริยากับยาอื่นๆ (ปฏิกิริยาระหว่างยา) ในขณะที่ผู้ป่วยได้รับยามากกว่า 1 ชนิดขึ้นไป ยาแต่ละชนิดอาจทำปฏิกิริยากันจนส่งผลเสียต่อร่างกาย หรือหมดคุณสมบัติของการรักษาโรค ในข้อนี้เอกสารกำกับยาจะระบุชื่อยาที่มีปฏิกิริยาซึ่งกันและกัน และกล่าวถึงผลลัพธ์ที่จะติดตามมา

                       -การใช้ยาในสตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่อยู่ในสภาวะให้นมบุตร โดยจะกล่าวถึงข้อห้ามใช้ การกระจายตัวของยาจากแม่สู่ทารก ดังนั้น จึงเป็นข้อตระหนักของประชาชนโดยทั่วไปว่า ไม่สมควรซื้อยารับประทานเองในขณะที่ตั้งครรภ์ หรืออยู่ในภาวะให้นมบุตร ด้วยยาหลายชนิดมีอันตรายต่อเด็กและต่อมารดาที่ตั้งครรภ์

                       -คุณสมบัติทางเภสัชวิทยา โดยระบุกลไกหรือวิธีการที่ยาออกฤทธิ์ต่อร่างกาย รวมไปถึงการดูดซึม และการกระจายตัวของยาไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ จนกระทั่งการขับยาออกจากร่าง กาย

                        -วิธีเก็บรักษา ด้วยเหตุผลในการคงคุณภาพของยา และรักษาอายุของยาได้ตามกำหนด โดยระบุถึงเงื่อนไขที่ใช้ในการเก็บยา เช่น เก็บให้พ้นแสงแดด เก็บให้พ้นมือเด็ก เก็บในที่อุณหภูมิไม่เกินกี่องศา เก็บในที่แห้ง อยู่ในภาชนะที่ปิดสนิทมิดชิดไม่สัมผัสกับอากาศภายนอก

                       -ขนาดบรรจุ จะระบุปริมาณบรรจุยาต่อภาชนะที่ใช้บรรจุ เช่น บรรจุ 1,000 เม็ด/ขวด บรรจุ 180 ซีซี/ขวด

                       -บริษัทผู้ผลิตพร้อมที่อยู่

                        อนึ่ง รายละเอียดของเอกสารกำกับยาของแต่ละบริษัทอาจมีข้อมูลมากกว่าหรือน้อยกว่าหัวข้อข้างต้น หากผู้บริโภคสามารถอ่านและศึกษาทำความเข้าใจก็จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไป ใช้ได้ดียิ่งขึ้น และเมื่อมีข้อสงสัยในเรื่องของยา ควรปรึกษาแพทย์ พยาบาล และ/หรือ เภสัชกร เพิ่มเติมเสมอ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น